สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ยุทธศาสตร์หน่วยงาน

ยุทธศาสตร์สำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน

พันธกิจ

1. พัฒนาแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ น่าอยู่ ปลอดภัยและพัฒนาเกษตรกรให้มีขีดความสามารถในการผลิตและจัดการสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด
2. ให้บริการทางการเกษตรและปัจจัยทางการเกษตรเพื่อสนับสนุนเกษตรกร
3. พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานแห่งความพอเพียงและส่งเสริมพัฒนาเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้
4. ศึกษา วิจัย ขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสู่ชุมชนและพัฒนางานด้านการส่งเสริมการเกษตร
5. พัฒนาสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เป้าประสงค์รวม

1. เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสินค้าเกษตรปลอดภัย เพิ่มรายได้ครัวเรือนของกลุ่มสมาชิกและเครือข่าย คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของประชาชน ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองมีการผลิตสินค้าจากชุมชนและท้องถิ่น
2. คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างเป็นสุขมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประชาชนดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขยายผลโครงการอย่างเป็นสุขมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประชาชนดำรงชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริไปยังพื้นที่/ประชาชน กลุ่มเป้าหมายเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว มีองค์ความรู้ของโครงการที่มีการถ่ายทอดสู่สาธารณะ

ประเด็นยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1    ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มุ่งสู่สังคมสีเขียว พัฒนาผลิตภัณฑ์ สู่สากล

เป้าประสงค์

1. พัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัย
2. เพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการและธุรกิจที่มีความเชื่อมโยง

กลยุทธ์

1.ส่งเสริมการเกษตรปลอดภัย
2.ส่งเสริมการตลาดเกษตร เน้นตลาดนำการผลิต

ตัวชี้วัด

1. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนแปลงเกษตรที่ผ่านมาตรฐานเกษตรปลอดภัย GAP
2. ร้อยละการจดทะเบียนกลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน และพัฒนาเป็นสินค้า OTOP

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2    พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการจัดการภาครัฐ และขยายผลการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สู่ชุมชน

เป้าประสงค์

1. มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
2. มีการพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ

กลยุทธ์

1. ส่งเสริมให้มีการบูรณาการวางแผนปฏิบัติและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2.พัฒนาการบริการและอำนวยความสะดวกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้กับประชาชน
3.พัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีสมรรถนะตามที่กำหนดและเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
4.ส่งเสริมให้ประชาชนดำรงชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
5.ขยายผลการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสู่ประชาชน
6.พัฒนาและส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวในโครงการพระราชดำริ
7.พัฒนาคนให้อยู่ร่วมกับป่าได้อย่างเป็นสุข มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัด

1.ระดับของสำเร็จในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้แก่ทุกภาคส่วน
2.ระดับความสำเร็จในการลดขั้นตอนการให้บริการ
3.ร้อยละบุคลากรเป้าหมายได้รับการพัฒนาให้เกิดความสามารถเพิ่มขึ้น competency
4.ระดับความสำเร็จของกิจกรรมที่ส่งเสริมอาชีพให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างมีความสุข
5.ระดับความสำเร็จของประชาชนที่นำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
6.ระดับความสำเร็จในการขยายผลโครงการพระราชดำริสู่พื้นที่เป้าหมาย
7.ระดับความสำเร็จของเป้าหมายโครงการพระราชดำริที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว